ระบบกันสะเทือน (Suspension System)


ระบบกันสะเทือน (Suspension System)

ระบบกันสะเทือน ทำหน้าที่รองรับน้ำหนักของตัวรถ เครื่องยนต์ ผู้โดยสาร และสิ่งของใดๆ ที่อยู่ในรถ อีกทั้ง ยังช่วยรองรับ แรงสะเทือนจากถนน และยังช่วยทำให้ผู้ขับรถ สามารถควบคุมการเคลื่อนที่ไปตามทุกสภาพ และความเร็วของถนน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกด้วย อุปกรณ์ รองรับน้ำหนักที่สำคัญ ในระบบกันสะเทือนคือ สปริง (Spring) และโช๊คอัพ (Shock Absorber)

ชนิดของระบบกันสะเทือน

  • ระบบกันสะเทือนแบบคานแข็ง (Rigid Suspension)
  • ระบบกันสะเทือนแบบอิสระ (Independent Suspension)

ระบบกันสะเทือนแบบคานแข็ง (Rigid Suspension) คือแบบดั้งเดิมโดยมากจะพบกับระบบกันเคลื่อนล้อหลัง เพราะจะมีเพลาหมุน (Axle shaft) ต่อออกจากชุดเฟืองท้าย (Differential) ไปสู่ล้อซ้าย และล้อขวาโดยตรง โดยไม่ผ่านข้อต่ออ่อน (Universal Joint) ดังนั้น เฟืองท้าย เพลาขับล้อซ้าย และเพลาขับล้อขวา และบริเวณเพลาขับทั้ง 2 ข้าง จะมีสปริง และโช้คอัพรองรับน้ำหนัก และแรงสะเทือนจากถนน เมื่อล้อซ้ายได้รับแรงสะเทือนใดๆ ก็จะสะท้อนแรงสะเทือนนี้ ไปยังล้ออีกข้างหนึ่งด้วย

ตัวอย่างระบบกันสะเทือนหลัง แบบคานเข็ง
sus-02

sus-01

ระบบกันสะเทือนแบบอิสระ (Independent Suspension)

คือระบบกันสะเทือนที่ได้รับการพัฒนาให้แยกหน้าที่ รองรับน้ำหนัก และแรงสะเทือนระหว่างล้อซ้าย และล้อขวาออกจากกัน เมื่อล้อใดล้อหนึ่งตกหลุมหรือกระแทกสิ่งกีดขวาง แรงสะเทือนที่เกิดขึ้น ก็จะกระทำต่อล้อนั้นเสียส่วนใหญ่ และจะส่งแรงสะเทือนนี้ไปสู่ตัวรถ และอุปกรณ์ต่อเนื่องกันให้น้อยที่สุด เพื่อให้เกิดความนุ่มนวลในห้องโดยสารมากที่สุด

sus-03
แสดงโครงสร้าง ระบบกันสะเทือนอิสระล้อหลังชนิดหนึ่ง

รถที่ขับเคลื่อนล้อหน้า หรือขับเคลื่อนล้อหลัง ที่ใช้ระบบกันสะเทือนแบบอิสระ จะมีข้อต่ออ่อน (Universal Joint) อยู่ระหว่างเพลาขับไปจนถึงล้อ เพื่อที่ว่า เวลาล้อเคลื่อนที่ไปตามสภาพถนนแล้ว เกิดตกหลุม หรือข้อมสิ่งกีดขวางใดๆ จุดศูนย์กลางของล้อจะไม่ตรงกับแกนเพลาหมุน ข้อต่ออ่อน ก็ยังคงส่งแรงหมุนนี้ไปตามเพลาหมุน ไปจนถึงล้อได้ แม้ว่าสภาพถนนจะเป็นอย่างไรก็ตาม

รูปแบบระบบกันสะเทือนอิสระ

  • ระบบกันสะเทือนอิสระแบบปีกนกคู่ (Double Wishbone)
  • ระบบกันสะเทือนอิสระแบบเมคเฟอร์สันสตรัท (MacPherson Strut)
  • ระบบกันสะเทือนแบบปีกนกคู่ (Double Wishbone)
    ระบบกันสะเทือนแบบนี้ มีส่วนประกอบที่มองดูคล้ายกับปีกนกอยู่ 2 ชิ้น ติดตั้งอยู่ด้านบน และด้านล่างอย่างละ 1 ชิ้น ด้านหนึ่งยึดติดกับโครงรถ อีกด้านหนึ่ง ยึดติดกับข้อบังคับเลี้ยวที่ติดอยู่กับดุมล้อ
    sus-06

    sus-061

    จากรูปจะเป็นการติดตั้ง ปีกนกด้านบน (Upper Control Arm) ด้านหนึ่งเกาะติดกับโครงรถด้วยแกนยึดกับโครงรถ อีกด้านหนึ่ง ยึดติดกับข้อบังคับเลี้ยวด้วยลูกหมาก (Ball Joint) และปีกนกด้านล่าง (Lower Control Arm) ก็จะยึดติดด้วยวิธีเดียวกัน ขณะเดียวกัน แกนบังคับเลี้ยวจากพวงมาลัย จะมายึดเกาะติดกับข้อบังคับเลี้ยว ตราบใดที่มีการหมุนพวงมาลัยเพื่อเลี้ยวซ้ายหรือขวา แกนบังคับเลี้ยวนี้จะดึง-ดันข้อบังคับเลี้ยว ให้เปลี่ยนทิศทาง เมื่อข้อบังคับเลี้ยวเปลี่ยนทิศทาง ดุมล้อที่ยืดเกาะกับแกนบังคับเลี้ยว ก็จะเปลี่ยนทิศทางด้วย ทำให้ล้อเปลี่ยนทิศทางไปเช่นกัน (เพราะล้อยึดติดกับดุมล้อ)

    sus-07

    แสดงการทำงานขณะขึ้นเนิน

    sus-08

    แสดงการทำงานขณะตกหลุม

    สปริง และโช้คอัพ จะติดตั้งอยู่ระหว่างปึกนกด้านบน และด้านล่าง เพื่อรองรับแรงสั่นสะเทือน ในขณะที่ ล้อรถตกหลุม สปริงจะดีดล้อลง และในขณะที่ขับรถข้ามสิ่งกีดขวาง สปริงจะพยายาม ส่งผ่านแรงสะเทือน ไปที่โครงรถ อย่างนุ่มนวล

    sus-09

    แสดงการติดตั้งระบบปีกนกคู่ ร่วมกับระบบบังคับเลี้ยว

    sus-04

    ระบบปีกนกคู่ ถูกดัดแปลงไปใช้กับรถยนต์แต่ละรุ่นแตกต่างกันไป บางบริษัทออกแบบระบบ ปีกนกเพื่อเพิ่ม ความนุ่มนวลในการขับขี่มากขึ้น บางบริษัทออกแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ด้านการทรงตัว ของรถขณะขับขี่หรือเข้าโค้ง การออกแบบของแต่ละบริษัท ก็จะส่งผลให้มีการผลิต ชิ้นส่วนของแขนปีกนกบน และล่าง ในรูปร่างแตกต่างกันไป
    sus-10

    แขนปีกนกในรูปลักษณะต่างๆ

    ระบบกันสะเทือนแบบเมคเฟอร์สันสตรัท (MacPherson Strut)
    ระบบกันสะเทือนแบบแมคเฟอร์สันสตรัท ถูกพัฒนาให้ง่ายขึ้นกว่าระบบปีกนกคู่ คือจะใช้แกนปีกนกด้านล่าง 1 แกน ส่วนด้านบนจะใช้เป็นชุดสตรัท (Strut) เพื่อรับแรงกระแทกบนพื้นถนน ขึ้นมาที่ล้อ ต่อไปยังแกนปีกนกบน+คอยสปริง+โช้คอัพ ไปในตัว
    sus-11

    sus-12

    ปัจจุบันรถยนต์รุ่นใหม่ ใช้วิธีนำชุดสตรัท มาเป็นระบบกันสะเทือนอิสระกันมากขึ้น รถยนต์บางรุ่น จะใช้ชุดสตรัท เป็นระบบกันสะเทือนทั้ง 4 ล้อ หรืออาจใช้ชุดสตรัท กับระบบล้อหน้า ส่วนระบบกันสะเทือนล้อหลัง ใช้เป็นแบบอื่นก็มี

    sus-13

    สตรัทที่มีโช๊คอัพอยู่ในชุด

    sus-14

    สตรัทโช๊คอัพพร้อมคอยล์สปริงพร้อมสำหรับติดตั้งเข้ากับตัวรถได้เลย

    sus-15

    การติดตั้งชุดสตรัท